การใช้งาน MACD เบื่องต้น

     1.การลง MACD ในกราฟ 
     ไปที่ คลิกที่ MACD แล้วเลือก Attach to a chart หรือ ลาก Indicators MACD ลงกราฟ ค่าเงิน ดังภาพดังนี้


รูปที่ 1 การลง MACD บนกราฟ


     2.การตั้งค่า MACD
     โดยการตั้งค่า MACD เพื่อเหมาะกับการใช้งานมี 2 ลักษณะคือ Fast EMA 12 Slow EMA 26 และ MACD SMA 9 หรือเรียกง่ายๆ ว่า 12-26-9 ดังรูป


รูปที่ 2 การตั้งค่า MACD แบบที่ 1

     และการตั้งค่า MACD เพื่อใช้งานแบบที่ 2 มีการตั้งค่าเป็น 15-35-9 ดังภาพต่อไปนี้


รูปที่ 3 การตั้งค่า MACD แบบที่ 2

     แนะนำให้ตั้งค่าการใช้งาน MACD ในแบบที่ 2 เพราะกราฟ จะ Smooth กว่า หรือมีการวิเคราะห์เพื่อใช้งานที่ง่ายกว่า กราฟเส้นจะไม่ตัดกันไปมาบ่อยครั้ง
     เมื่อทำการตั้งค่า MACD เรียบร้อยแล้ว จะเหมือนภาพดังต่อไปนี้


รูปที่ 4 MACD บนกราฟคู่เงิน EURUSD M15 

     3.การติดตั้ง Indicators Moving Average (MA)  เพื่อใช้งานคู่กับ MACD
     การลงเส้น Moving Average เพื่อใช้ในการวิเคราะห์คู่กับ MACD โดยการติดตั้งทำได้โดยการลาก Indicators Moving Average ลงเข้ากับ MACD ดังภาพต่อไปนี้
รูปที่ 5 ลาก Moving Average ลง MACD ในช่องสีแดง
เมื่อลาก Moving Average ลง บน MACD เรียบร้อยแล้วก็ทำการตั้งค่าเส้น Moving Average ดังภาพต่อไปนี้


รูปที่ 6 การตั้งค่า Moving Average 

     ข้อแนะนำ ให้เลือกเส้นสี เป็นสีอะไรก็ได้ ที่ไม่ใช่สีของเส้น MACD โดยแนะนำให้เป็นสีเขียว เพื่อตัดกับสีแดงได้อย่างชัดเจน เมื่อทำการตั้งค่า Moving Average เรียบร้อยแล้ว จะได้ Indicators สำหรับการวิเคราะห์กราฟได้ดังภาพต่อไปนี้


รูปที่ 7 Indicators MACD และ Moving Average 

คำอธิบาย เส้นสีเขียวคือ เส้นของ Moving Average เป็นเส้นหลักในการวิเคราะห์เทรนของกราฟ
         เส้นสีแดงคือ เส้นของ MACD เป็นเส้นรอง ใช้ในการหาจุดเข้าเทรดที่เหมาะสมที่สุด
         แท่งสีขาวคือ แท่งของ MACD  เป็นแท่งที่ใช้ในการวิเคราะห์เทรนโดยรวม
                 เราจะใช้ข้อมูลของ Indicators ทั้ง 3 สีนี้ มาใช้ในการวิเคราะห์กราฟ Forex


     MACD คือ Indicators ที่ใช้ในการวิเคราะห์กราฟที่บ่งบอกถึงความเป็น Treand ของกราฟ (เทรน) โดย MACD นั้น ถือว่าเป็น Indicators ที่ค่อนข้างใช้งานได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อนในการวิเคราะห์อะไรที่ยุ่งยาก โดยเนื้อหาของการใช้งาน MACD นั้น จะสอนในเรื่องของการใช้ MACD เบื้องต้นดังต่อไปนี้

     1.MACD ที่บ่งบอกถึง เทรนขึ้น (ผมตั้งชื่อให้มันว่าขึ้นภูเขา แล้วแต่ความชอบนะครับ ^^)
MACD ที่มีสัญญาณเทรนขึ้นนั้น จะมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ
       
          1.1 MACD เทรนขึ้นเมื่อ ผ่านเส้น 0 ขึ้นเขา โดยเส้นสีเขียว Moving Average นั้นได้ตัดเส้นสีแดง MACD แล้วผ่านเส้น 0 ให้มองเป็นเทรนขึ้นดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้


รูปที่ 8   เทรนขาขื้นเมื่อผ่านเส้น 0 

          *หมายเหตุจุดเข้าที่ได้เปรียบ จะเข้าในจังหวะลูกศรสีเหลืองหมายเลขที่ 2 คือ ต้องให้ผ่านเส้น 0 ในวงกลมสีแดง มาสักระยะก่อน ประมาณ 2-3 แท่งขาว จังหวะเข้าบนกราฟ จะอยู่ที่หมายเลขที่ 1 นั่นเอง

          1.2เทรนขึ้นเมื่อเกิด เขาลูกที่ 2 หรือ เส้นสีเขียว Moving Average ได้ตัดเส้นสีแดงขึ้นไปต่อ ดังภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้


รูปที่ 9 เทรนขึ้นบนเขาลูกที่ 2 

     จากรูปที่ 9 หมายเลข 1 คือ จุดที่เข้าซื้อ ที่เหมาะสม
              หมายเลข 2 คือ ตำแหน่งเทรนขึ้นบนเขาลูกที่ 2 เส้น สีเขียวตัดเส้นสีแดงขึ้นไป ก่อให้เกิด เทรนขึ้นต่อดังภาพที่ 9

     2.MACD ที่บ่งบอกถึงเทรนลง (ผมตั้งชื่อให้มันว่าดำน้ำหรือลงน้ำ ละกันครับ ^^)
MACD ที่มีสัญญาณลงนั้น ก็จะคล้ายๆ กับ เทรนขึ้น แต่จะ ดำน้ำลงแทน มีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ

          2.1 MACD เทรนลงเมื่อ ผ่านเส้น 0 ลงน้ำ โดยเส้นสีเขียว Moving Average นั้นได้ตัดเส้นสีแดง MACD แล้วผ่านเส้น 0 ให้มองเป็นเทรนลงดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้


รูปที่ 10 เทรนลงเมื่อเส้นสีเขียวและเส้นสีแดงผ่าน เส้น 0 ลงน้ำ

     จากรูปที่ 10 ลูกศรหมายเลข 1 คือจุดที่เหมาะสมในการเข้า Sell เพื่อทำกำไร
         ลูกศรหมายเลข 2 คือตำแหน่งของ เส้นสีเขียวผ่านเส้น 0   ที่บอกถึงเทรนลงชัดเจน

          2.2 เทรนลงเมื่อเกิด เทรนลงชั้นที่ 2  หรือ เส้นสีเขียว Moving Average ได้ตัดเส้นสีแดงลงต่อ ดังภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้


รูปที่ 11 เทรนลงต่อในรอบที่ 2 

      จากรูป หมายเลข 1 คือ ตำแหน่งที่เข้า Sell
          หมายเลข 2 คือ เส้น สีเขียวตัดเส้นแดงเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ลงต่อ

     *** หมายเหตุ เราจะไม่เข้า Buy เมื่อ เส้นเขียวตัดเส้นแดงเมื่อ อยู่ใต้น้ำ และไม่เข้า Sell เมื่อ เส้นเขียวและแดงตัดกันบนเขา แต่จะเข้าได้เมื่อมีสัญญาณของ Divergence ในการตัดสินใจเข้าเทรด


Divergence (ไดเวอเจน)
     Divergence คือ การแยกออกจากกัน ความขัดแย้งกันของราคาและตัวชี้วัด (Indicator) หมายความว่า ทิศทางของราคาและทิศทางของตัวชี้วัด Indicator จะตรงกันข้ามกัน Divergence มี 2 ประเภท คือ Divergence Bullish และ Divergence Bearish

     1.Divergence Bullish 


รูปที่ 12 Divergence Bullish 

     จากรูปที่ 12 จะเห็นว่า
     เส้นที่ 1  กราฟราคาทำ New Low ต่ำกว่า Low เก่าแล้วมีการกลับตัวจะเป็นสัญญาณของ Divergence Bullish
     เส้นที่ 2 Indicators MACD ทำ New Low สูงกว่า Low เก่า นี่คือสัญญาณของ Divergence Bullish

     ทริคในการดู Bullish Divergence ให้ได้ผลออกมาดีที่สุด คือ เราต้องรอให้ราคาที่มาทำ New Low มีการดีดตัวกลับก่อน ตรงตำแหน่ง New Low ต้องเกิด Bullish Candle คือมีการดีดตัวกลับ แล้วเราจึงมาดู Indicator ว่า New Low มันสูงกว่า Low เดิมมั้ย ถ้ามันสูงกว่า นี่คือสัญญาณ Bullish Divergence เราสามารถเปิดออเดอร์ Buy(Long) ได้เลยครับ


     2. Divergence Bearish


รูปที่ 13 Divergence Bearish

      จากรูปเราจะเห็นว่า ราคาขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่า แต่อินดี้ของเรากลับทำจุดสูงสุดใหม่ต่ำกว่าเก่า แบบนี้เราเรียกว่า Divergence Bearish ครับ
      ทริคในการสังเกตไดเวอร์เจนประเภทนี้ คือเราต้องรอให้ราคาหยุดนิ่งก่อน อย่าไปสวนขณะที่มันกำลังพุ่งขึ้นเด็ดขาด ต้องรอให้มีการกลับตัวเล็กน้อย โดยดูจากแท่งเทียน ถ้ามีแท่งเทียนกลับตัว Bearish Candle , Reverse Candle และมาดูที่ Indicator ถ้ามันต่ำกว่า High เก่า เราก็สามารถ Sell (Short) ได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น